วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

23:55

ความหมายของเวลาและการบริหารเวลาทำงานพิเศษ ทำที่บ้าน
สุขใจ น้ําผุด(2536:44) กล่าวว่าเวลาเป็นสิ่งมีค่าที่สามารถใช้ให้เกิดเป็นเงินเป็นทองได้ คุณค่าของเวลาจึงขึ้นอยู่กับ การรู้จักใช้ ให้เกิด ประโยชน์ ส่วนวิรัตน์
บัวขาว (2537:26) กล่าวว่า ทรัพยากรเวลาเป็นสิ่งสําคัญยิ่ง เมื่อหมดไปไม่สามารถ ที่จะสร้างขึ้นมาใหม่ เพื่อทดแทนได้ ผู้ที่ประสบ ความสําเร็จ ต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการใช้เวลา ในขณะที่วิมาน
จิ๋วเจียม(2539:6) ได้ให้ ความหมายของเวลาว่า เวลาเป็น ทรัพยากรธรรมชาติ ที่มนุษย์ ได้รับมาเท่าเทียมกันสําหรับใช้ในการ ทํางาน มีหน่วยเวลานับเป็น นาทีวันชั่วโมง สัปดาห์ เดือน ปี ยกเว้นช่วงอายุขัย ซึ่งจะไม่เท่ากันเวลา เป็นทรัพยากรที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เวลาเป็นทรัพยากร ที่สะสมไม่ได้ เวลาเป็นทรัพยากรที่อนุรักษ์ไม่ได้ เวลาเป็นทรัพยากรที่หายืมเช่นเดียวกับเงินหรือวัสดุไม่ได้ และเกี่ยวกับการบริหารเวลา
เฉลิม สุขคะสมบัติ (2527: 44-47) อธิบายว่า การบริหารเวลาหมายถึงวิธีการดําเนินการโดยใช้เวลา ปฏิบัติงานให้ได้ผลตรงตาม เป้าหมายมากที่สุด ให้รู้ถึงวิธีการทํางานโดยละเอียด รวมทั้งปัจจัยที่ เกี่ยวข้องกับงานด้วย เพื่อประโยชน์นํามาใช้ การวางแผน การปฏิบัติงาน
จีรวัฒน์ วีรังก ร( 2540 : 20) ได้กล่าวถึง คําว่า“การบริหารเวลา” ว่ามักใช้กับผู้บริหาร เพราะ ผู้บริหารมีหน้าที่ใน การรับผิดชอบปฏิบัติงานมาก จึงต้องมีการจัดสรรเวลาเพื่อให้งานสําเร็จลุล่วงอย่างมีประสิทธิภาพและ ทันเวลา แต่นักศึกษาสามารถ ประยุกต์เทคนิคทางการบริหารเวลามาใช้ประโยชน์ต่อการเล่าเรียน
สมิทธิ์และสมิทธิ์ (Smith; & Smith.1990) ให้ความหมายว่า การบริหารเวลา หมายถึง การที่ตนเอง บริหารการใช้เวลา ซึ่งจะช่วยให้สามารถใช้เวลา ได้อย่างถูกต้อง เป็นประโยชน์ ลดความเครียด จากการเรียน และยังเป็นการวางแผนกําหนดระยะเวลาในการทํากิจกรรมต่างๆ ในชีวิตของนักศึกษา อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ


ความหมายของเวลาและการบริหารเวลาทำงานพิเศษ ทำที่บ้าน

ความสําคัญของการบริหารเวลา

ฮอคไฮเซอร์ (วิภาพร สิทธิสาตร์.2542:30; อ้างอิงจาก Hochheiser 1998) กล่าวว่า การบริหารเวลาไม่ใช่เพียงความคิด แต่เป็นทั้ง ความคิด การคิดและการกระทําว่า จะดําเนินการอย่างไร เพื่อไปสู่จุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ในเวลาที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดส่วน มาร์ติน (วิภาพร สิทธิสาตร์. 2542:30; อ้างอิงจาก Martin.1998) ได้อธิบายถึงความสําคัญเกี่ยวกับ การบริหารเวลาว่า เป็นสิ่งที่คนจําเป็นต้องนึกถึง เพราะไม่เช่นนั้น เวลาจะผ่านไปอย่างไร้ประโยชน์โดยที่ไม่สามารถทํา อะไรได้เลย ซึ่งในความเป็นจริง เพียง แต่คิดก็จะสามารถบริหารตนเองได้ การบริหารตนเอง อาจจะเป็น เรื่องของการทํางาน เรื่องส่วนตัว แนวทางในการทํางาน และการดํารงชีวิต การบริหารเวลาไม่ใช่การ รีบเร่งในการทํางาน แต่เกี่ยวข้องกับ เวลา ส่วนสุขใจ น้ําผุด (2536: 44-45) กล่าวว่า คนควรมี การบริหารเวลาโดยมีการจัดสรรเวลา ซึ่งพิจารณาจากเวลา 24 ชั่วโมง ในสัดส่วนที่เหมาะสม กับวัน อันจะก่อให้เกิด ประโยชน์ทั้ง ด้านอาชีพ การงาน สุขภาพ และอื่นๆ หรือโดยการจดบันทึกเพื่อได้เห็นว่า ได้ใช้เวลาคุ้มค่า การทํางานตาม จังหวะเวลา วางแผนให้สอดคล้อง กับจังหวะเวลา ทํางานตามแผนที่ วางไว้สอดคล้องกับเวลาที่มีอยู่ การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เวลา ที่เว้นจากอาชีพ หรือการสร้าง สุขภาพย่อมเป็นเวลาว่าง ซึ่งแต่ละคนมีอิสระที่จะเลือกใช้ได้ตามความถนัดและความพอใจการใช้เวลา ให้เกิดประโยชน์ด้วย การทํางานอดิเรกเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการเก็บรวบรวมสะสมสิ่งต่างๆงาน ประดิษฐ์ การปลูกต้นไม้ การอ่านหนังสือ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเพลิดเพลินความรู้และเป็นรายได้ อย่างดี
เสกสรรค์ มธุลาภรังสรรค์. (2541: ออนไลน์) ได้สรุปลักษณะสําคัญของเวลา5 ประการคือ
1. เพื่อช่วยให้ใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น ส่วนหนึ่งของการบริหารเวลาเป็นเรื่องของเทคนิคและทักษะ ซึ่งจะช่วยให้สลัด การเสียเวลาที่ไม่จําเป็นออกไป ทําให้ผู้ที่ฝึกฝนรู้สึกว่ามีเวลามากขึ้นและอยากทํา อะไรมากขึ้น
2. เพื่อให้มีเวลาให้กับคนสําคัญและสิ่งสําคัญมากขึ้นคนที่เป็นนักบริหารเวลามักจะไม่ พลาดในการให้เวลากับคนสําคัญและสิ่งสําคัญ และจะต่อสู้เต็มที่รวมถึงเรียนรู้วิธีการต่างๆ เพื่อให้ ได้มาซึ่งเวลาที่จะอยู่กับสิ่งที่มีคุณค่าสําหรับตัวเอง
3. เพื่อรักษาความสมดุลในชีวิตทักษะการบริหารเวลาเป็นเสมือนผู้ช่วยให้สามารถปฏิบัติ หน้าที่ได้ทุกบทบาทที่ตนเองต้องรับผิดชอบ ทั้งเรื่อง ครอบครัว สังคมการเรียน สุขภาพ การเงินการ งาน ฯลฯ
4. เพื่อให้มีความสุขกับการใช้ชีวิต คนที่บริหารเวลาได้ดีจะรู้สึกว่าชีวิตมีคุณค่า สิ่งเหล่านี้ นําไปสู่ความสบายใจและสุขใจ
5. เพื่อให้ได้บรรลุเป้าหมายชีวิตที่ได้ตั้งไว้แน่นอนคนที่เป็นนักบริหารเวลา ย่อมเป็นคนที่ทํา อะไรอย่างมีเป้าหมาย และจะมุ่งมั่นจนกว่าถึง จุดหมาย ของตน เมื่อผสมกับทักษะและเทคนิคในการ บริหารเวลา โอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายก็ย่อมมากขึ้น การบริหารเวลาเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อชีวิตเป็น อย่างยิ่ง
เกรียงศักดิ์เจริญวงศ์ศักดิ์(2543: 18-27) กล่าวถึง การบริหารเวลาเวลาก็เหมือนชีวิต เมื่อใช้ หมดแล้วก็หมดไป การบริหารเวลา ก็เท่ากับ การบริหารชีวิต และคนที่ต้องการประสบความสําเร็จและ ความสุขในชีวิตย่อมหลักเลี่ยง การบริหารชีวิตหรือ การบริหารเวลา ไปไม่ได้ การบริหารเวลามีความจําเป็นสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้
1. การทําให้ชีวิตมีเป้าหมาย ในการตระหนักถึงความสําคัญของการบริหารเวลาที่จุดกระตุ้น ให้ค้นหาเป้าหมายที่มีคุณค่าในชีวิต เป้าหมายนั้น จะกลับมากระตุ้นเร้าให้มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ บริหาร เวลาในชีวิตจนกว่าไปถึงจุดหมายปลายทางของเป้าหมาย
2. ทําให้ไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ คนควรมีเป้าหมายและการที่จะประสบความสําเร็จได้นั้น บุคคลผู้นั้นต้องทุ่มเท บากบั่นเพื่อไปให้ถึง เป้าหมาย สําหรับคนที่ตั้งใจไว้อย่างแท้จริงแล้วจะตระหนัก ถึงคุณค่าของเวลาทุกวินาทีพยายามอย่างเต็มที่ ที่จะใช้เวลาทั้งหมด ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการ ผลักดันชีวิตไปสู่เป้าหมาย โดยวางตารางเวลาใช้ชีวิตแต่ละวันว่า จะต้องทํากิจกรรมใด ในช่วงใด และ แต่ละช่วงของชีวิต ทั้งในระยะสั้น ระยะยาวว่าจะต้องทําอะไร จะต้องฝึกฝน เรียนรู้เพื่อพัฒนาตน ในด้าน ใดบ้างจึงจะเอื้อต่อการก้าวไปสู่ความสําเร็จ
3. ทําให้ชีวิตมีคุณค่า มีความหมาย สามารถนําเวลาไปทําในสิ่งต่างๆที่มีประโยชน์ ต่อตนเองและผู้อื่น เช่นในการใช้การสร้างสรรค์ศิลปะ ที่จะช่วยจรรโลงจิตใจของคนในสังคม อ่านหนังสือแสวงหาความรู้ที่จะช่วยยกระดับปัญญาของตน ให้สูงขึ้นเพื่อความก้าวหน้าในชีวิตและมี ส่วนช่วยพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น สิ่งเหล่านี้ทําให้ชีวิตมีคุณค่า และมีความหมายมากขึ้น
4. ทําให้ชีวิตสมดุลครบด้าน การที่รู้จักจังหวะของเวลาในการดําเนินชีวิตและมี การจัดสรรเวลาในแต่ละด้าน ได้แก่ ครอบครัว หน้าที่การงาน มิตรภาพสังคม ชีวิตส่วนตัวและอื่นๆได้ อย่างสมดุลชีวิตก็สามารถที่จะประสบผลสําเร็จในทุกๆด้านได้อย่างภาคภูมิใจ
5. ทําให้ชีวิตมีความสุขความพึงพอใจในชีวิต ซึ่งความพอใจในชีวิตเกิดจากการที่ประสบ ความสําเร็จในด้านต่างๆในชีวิต เช่นการเรียน การงานชีวิตครอบครัว ผลมาจากความมุ่งมั่นอุตสาหะ พากเพียรในการบริหารเวลา บริหารชีวิตอย่างตั้งใจ นอกจากนี้การบริหารเวลาที่ดี นํามาซึ่งความสุข ความพึงพอใจในชีวิต เมื่อการจัดสรรเวลาอย่างเพียงพอสําหรับการพักผ่อนประจําวัน การได้ใช้เวลากับ คนที่มีความหมายพิเศษ สุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ เนื่องจากมีเวลาออกกําลังกายอย่างสม่ําเสมอ
การเป็นเจ้าของจิตใจ ที่สดชื่นเนื่องจาก ไม่ต้องเคร่งเครียด กับเส้นตายของงาน และการได้ไปพักผ่อน ตากอากาศ ฯลฯ
6. ทําให้ทํางานได้สําเร็จลุล่วงและได้รับความก้าวหน้าในชีวิตการบริหารเวลาคือการบริหารชีวิต จะทําให้คนพัฒนาตนจาก ความบกพร่อง ต่างๆ ได้ หากเริ่มต้นตั้งเป้าหมายในชีวิตและเรียนรู้ที่จะ จัดสรรเวลาในการทํากิจกรรมต่างๆนั้น จะทําให้พบความสําเร็จ และความก้าวหน้าในชีวิต
บุญมาก พรหมพ่วย (2525:4) ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่าการบริหารเวลามีการตอบแทนสิ่ง ต่างๆอีกมากมายให้ในชีวิต ซึ่งประเภทของการใช้เวลา แบ่งออกเป็น สําคัญและเร่งด่วน สําคัญแต่ไม่เร่งด่วน เร่งด่วนแต่ไม่สําคัญ งานยุ่งการเสียเวลาเปล่า
นอกจากนี้เสกสรรค์มธุลาภรังสรรค์(2541: ออนไลน์) ให้ความคิดเห็นว่า เวลามีความสําคัญต่อทุกคน เพราะธรรมชาติของเวลา มีลักษณะพิเศษ คือเวลาเป็นทรัพยากรที่จํากัดใช้แล้วหมดไป เวลาไม่สามารถซื้อเพิ่มได้ไม่ว่ารวยหรือจน เวลาไม่สามารถ เก็บเอาไว้ ใช้ได้ เวลาผ่านไปเรื่อยๆ ไม่หวนย้อนกลับมาความสําคัญของการบริหารเวลาช่วยให้ ใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น รักษาความสมดุลในชีวิต มีความสุขกับการใช้ชีวิตบรรลุตามเป้า หมาย ดังที่ จิตต์ อินสว่าง(2549:1-3) ได้กล่าวว่าความจริงของ คนสามารถจัดการ กับการใช้เวลาของตนเองได้ ซึ่งเป็นการจัดการที่ชาญฉลาด ฉะนั้นการบริหารเวลา จึงเป็นทรัพยากรที่สําคัญมาก ซึ่งจะต้องเข้ากับ รูปแบบการดําเนินชีวิตและสิ่งแวดล้อมด้วย
จากความหมายและความสําคัญของการบริหารเวลาดังที่กล่าวไว้ข้างต้น อาจสรุปได้ว่า การบริหารเวลา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงให้ คนปรับตนเอ งให้สอดคล้องกับเหตุการณ์รวมทั้งการที่ กําหนดเกี่ยวกับการควบคุมการปฏิบัติงานให้บรรลุตามเวลาและวัตถุประสงค์ บุคคลรู้จักจัดสรรเวลา ในการทํากิจกรรมในแต่ละด้านโดยการรู้จักวางแผนและกําหนดเป้าหมายในการดําเนินชีวิตและปฏิบัติ ภารกิจของตน โดยมีการจัดระบบ การใช้เวลา ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าสูงสุดเพื่อให้งานสําเร็จลุล่วง มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งสามารถ จัดสรรเวลาได้อย่าง สมดุลเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตนได้วางไว้ ซึ่งส่งผลต่อความก้าวหน้าในชีวิต

เวลา (Time) และการบริหารเวลา (Time Management)

อนันท์ งามสะอาด
ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์
1. บทนำ
เวลา (Time) เป็นทรัพย์สินที่มีค่า และไม่สามารถหาสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาทดแทนได้ บุคคลผู้ประสบผลสำเร็จ ล้วนแล้วแต่รู้จักใช้เวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด การบริหารเวลาจึงถือเป็นความจำเป็นที่นักบริหาร จะต้องตระหนัก และให้ความสำคัญ เพราะผู้บริหารเวลาเป็นก็คือผู้บริหารชีวิตเป็น
2. ความหมายของเวลาและความสำคัญของเวลา
2.1 ความหมายของเวลา
เวลา (Time) คือ มาตรวัดทุกสิ่งทุกอย่างเป็นตัวแปรที่ต่อเนื่อง (Continuous Variable)
2.2 ประเภทของเวลา
2.2.1 เวลาทางกายภาพ (Physical Time) เป็นเวลาในเชิงสมมติใช้หน่วยเป็น ปี เดือน สัปดาห์ วัน ชั่วโมง นาที และวินาที
2.2.2 เวลาทางจิต (Psychological Time) เป็นเวลาตามความรู้สึกตามแต่การรับรู้ ของบุคคลแต่ละคนซึ่งจะแตกต่างกันไป เช่น วัดเป็นความเร็ว ความช้า และความเบื่อหน่าย ฯลฯ
2.3 ความสำคัญของเวลา
2.3.1 เวลาคือชีวิต ไม่มีวันย้อนกลับ ไม่มีอะไรมาทดแทนได้
2.3.2 การปล่อยให้เวลาเสียไปเปล่า ๆ เท่ากับเป็นการปล่อยให้ชีวิตเสียไปเปล่า
2.3.3 การเป็นนายเหนือเวลาเท่ากับเป็นนายเหนือชีวิตอันจะได้รับประโยชน์สูงสุด
3. การบริหารเวลา
3.1 ความหมายของการบริหารเวลา
ศาสตราจารย์ Harold Koontz ให้ความหมายว่า "การบริหารคือการดำเนินงานให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้โดยอาศัยปัจจัยทั้งหลาย ได้แก่ คน เงิน วัสดุ เป็นอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานนั้น"
3.2 ความหมายของการบริหาร
การบริหารเวลา คือ กระบวนการทำงานอย่างมีระบบ โดยใช้เวลาน้อยแต่ให้ผลคุ้มค่ามากสุด
4. การบริหารเวลาให้เกิดประสิทธิภาพ
4.1 การวางแผน (Planning)
4.1.1 การวางแผน เป็นหลักสำคัญของการทำงานการเรียน การทำงาน จึงต้องกำหนดจุดหมายใช้เวลาที่ประหยัด และก่อให้เกิดงานที่มีประสิทธิภาพ
4.1.2 ควรกำหนดแบบงานแต่ละปี เดือน สัปดาห์ และวัน
4.1.3 ฝึกใช้ปฏิทินในการวางแผนจนเป็นนิสัย
4.1.4 แม้ว่าการวางแผนจะต้องสิ้นเปลืองเวลาในตอนเริ่มแรก แต่ในขั้นสุดท้าย การวางแผนจะช่วยรักษาเวลาและให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า
4.2 การจัดเวลาให้เหมาะสมงาน
4.2.1 กำหนดและจัดลำดับความสำคัญของงานไว้ในแผนการทำงาน
4.2.2 งานใดที่ไม่สำคัญหรือกิจกรรมใดที่ไม่เกิดประโยชน์ควรตัดทิ้งไป
4.2.3 ให้เวลาสำหรับงานที่สำคัญ ๆ เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพของงานมากที่สุด 4.2.4 แยกประเภทของงานไว้ให้ชัดเจน แล้วจัดทำพร้อมกัน เพื่อประหยัดเวลา
4.2.5 ทำให้เสร็จเป็นอย่าง ๆ ไปอย่างมีระบบเสมอ
4.3 การจัดเวลาให้เหมาะสมกับคน
4.3.1 ควรตัดเวลาที่เกี่ยวกับงานสังคม หรือการประชุมที่ไม่จำเป็น
4.3.2 ควรปฏิเสธบุคคลที่ขอติดต่อพบปะบ้าง ทำให้การทำงานไม่ต่อเนื่อง
4.3.3 ให้บุคคลอื่นมีส่วนแบ่งภาระความรับผิดขอบงานตามสมควร
4.3.4 มอบหมายงานกระจายงานให้บุคคลอื่น ควรทำอย่างมีประสิทธิภาพกำหนดวัตถุประสงค์ในการทำงานที่ชัดเจน
4.3.5 ควรสร้างบรรยากาศการทำงานให้เกิดขึ้นเสมอ หาแนวทางให้รบกวนสมาธิการทำงานให้น้อย
4.4 การสั่งการ/เตือนคนเสมอ
4.4.1 สร้างวิธีที่ฉลาดขึ้น แต่ไม่ใช่คลั่งการจัดระบบจนเกินไป
4.4.2 ทำอะไรให้ลุล่วงไปเป็นขั้นตอน แต่ไม่ใช่ใสใจแต่การจัดระบบแต่ไม่ทำอะไรเลย 4.4.3 ทำอะไรมากเกินไป จนไม่เคยประเมินคุณค่าที่แท้จริงของผลงาน
4.4.4 จงทำงานวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวานนี้ และทำวันพรุ่งนี้ให้ดีกว่าวันนี้
4.4.5 การทำอะไรอย่างสมบูรณ์ ชนิดไม่มีดีนี้นเปลืองเวลาโดยใช่เหตุ
4.4.6 ฝึกฝนการตัดสินใจเพื่อทำงานตามที่เห็นว่าเหมาะสมให้ทันเวลา
4.5 การควบคุมการทำงานเพื่อการมีเวลาที่ดีกว่า
4.5.1 การรู้จักใช้เวลาคือการรู้จักวิธีการทำงานที่ฉลาด นั่นแสดงว่าจะมีเวลาสำหรับตัวเอง สำหรับครอบครัวและสำหรับสังคมมากขึ้น
4.5.2 อย่าทำตนเป็นบุคคลที่แยกตนออกจากงานไม่ได้ในบางครั้งหยุดพักผ่อนตามสมควรพอเหมาะ การทำงานติดต่อกันเป็นเวลายาวนาน อาจเกิดผลเสียได้
4.5.3 ฝึกมีวินัยในการทำงาน ไม่พลัดวันประกันพรุ่ง เพื่อการมีเวลาที่ดีกว่า
4.5.4 การพบปะ/สังสรรค์/ ร่วมกิจกรรมสังคม จะต้องเป็นเรื่องที่สร้างสรรค์ ไม่เสียเวลากับเรื่องไร้สาระ นำไปสู่ปัญหาไม่มีที่สิ้นสุด สิ้นเปลืองเวลาโดยใช่เหตุ
4.5.5 คนที่รู้จัดใช้เวลา "เป็น" เท่านั้นจึงจะมีเสรีภาพให้กับ "ชีวิต" ที่แท้จริง
5. การจัดแบ่งเวลาและงาน
5.1 การจัดแบ่งเวลาและงานโดยใช้ตารางเมื่อสามารถจัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วนของงานได้แล้ว ก็พิจารณาใช้ตารางแบ่งเวลาและงานเข้าช่วยโดยการเขียนงานใส่ช่องที่เหมาะสมกับการใช้เวลาตามตารางแสดงข้างล่าง
จากตารางนี้จะทำให้ผู้บริหารรู้ได้ว่าเวลานั้นจะต้องทำงานอะไร หรือให้ใครไปทำอะไร ข้อสำคัญ ต้องไม่ลืมว่า ผู้บริหารที่ดีคือผู้ที่ทำให้งานเสร็จ ไม่ใช่ทำงานให้เสร็จ
5.2 ประโยชน์ของการบริหารเวลา
เมื่อเวลาเป็นสิ่งที่มีค่า มีความสำคัญ มีจำกัด ไม่อาจจะหาสิ่งอื่นมาทดแทนได้ ในฐานะผู้บริหาร หากเวลาได้ประโยชน์คุ้มค่าเหมาะสมย่อมเกิดประโยชน์ ทั้งส่วนรวมและส่วนตัว เพราะสามารถทำงานที่สำคัญได้เสร็จตามกำหนด ไม่ทำงานซ้ำซ้อน รู้จักสร้างตนสร้างความรับผิดชอบ สร้างทีมงานทั้ง การมีส่วนร่วมเลือกทำงานให้คุ้มค่ากับเวลาและที่สำคัญมีความสุขกับการทำงาน
5.3 ข้อเสนอแนะในการบริหารเวลา
เรียงลำดับความสำคัญของงานว่างานใดควรทำให้เสร็จก่อน และควรหยุดรับทำกิจกรรมหลายอย่างเมื่อมีเวลาจำกัด และควรกำหนดตารางเวลาล่วงหน้า เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และพยายามทำให้ได้ตามกำหนด โดยเผื่อความยึดหยุ่นไว้บ้าง ตารางเวลาล่วงหน้าที่ควรจัดทำ เช่น ตารางต่อวัน, ตารางต่อสัปดาห์, ตารางต่อเดือน , ตารางต่อภาคเรียนและตารางต่อปี
5.4 สุภาษิตที่เกี่ยวกับเวลา
One day is worth two tomorrows. วันนี้มีค่าเท่ากับวันพรุ่งนี้ถึงสองวัน
Time is the devourer of things. เวลาคือตัวกลืนสรรพสิ่ง
Time and tide wait for no man. เวลาและวารีไม่มีจะคอยใคร
Prepare today for the needs of tomorrow. เตรียมพร้อมในวันนี้เพื่อภาระในวันพรุ่งนี้
Time is money. เวลาเป็นเงินเป็นทอง
Lost time is never found again. เวลาที่เสยไปจะเรียกคืนมาไม่ได้
Better late than never มาสายยังดีกว่าไม่มาเสียเลย
The darkest hour is before the dawn. เวลาที่มืดมนย่อมมาก่อนรุ่งสว่างที่สดใส
สรุป
การบริหารเวลาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการมีชีวิตอยู่ในสังคม ที่มีความสลับซับซ้อน กิจกรรมทางสังคมมีความเคลื่อนไหว (Dynamic) จนแทบตามไม่ทัน สภาพเศรษฐกิจเปลี่ยนไปไม่มีวันสิ้นสุด ผู้ที่มองเห็นคุณค่าของเวลา และสามารถบริหารเวลาที่มีอยู่ให้บังเกิดผลประโยชน์ย่อมเป็นผู้ได้เปรียบ และจะสามารถขจัดปัญหาอันเป็นผลมาจากความเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ต่าง ๆ รอบข้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นย่อมหมายความว่า บุคคลนั้นได้ควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างไว้ในมือได้แล้ว ทั้งนี้ด้วยสาเหตุเพียงประการเดียว คือ เขาบริหารเวลาเป็น
ผศ.จุฬาภรณ์ โสตะ ให้นิยามไว้ว่า "เวลามีค่ายิ่งกว่าทอง ทองใช่ว่าจะซื้อเวลาได้"
เวลาเป็นทรัพยากรที่มีค่าของทุกคน ยิ่งคนที่รู้คุณค่าของเวลามากเท่าใด ย่อมสามารถเก็บเกี่ยวคุณ ประโยชน์จากการใช้เวลาให้มีคุณค่าได้มากเพียงนั้น
เทคนิคการบริหารเวลาจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับผู้ต้องการเรียนรู้การใช้เวลาให้เกิดประโยชน์อย่างสูง ทำให้สามารถดำเนินภาระกิจต่างๆได้อย่าง ราบรื่น ง่าย และมีเวลาเพียงพอที่จะบริหารจัดการสิ่งต่างๆให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และยังมีเวลาส่วนตัวเพื่อพักผ่อนหย่อนใจได้ตามอัธยาศัย
ปัญหาที่ทำให้เกิดการสูญเสียเวลา
(ม.อึ้ง อรุณ,2537และ (Albert Stackmore อ้างถึงในชาญชัย อาจินสมาจาร, 2535)
มี หลายประการ ควรมีการประเมินผลตัวทำลายเวลาและจัดลำดับความสำคัญ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา ซึ่งปัญหาที่ทำให้สูญเสียเวลา ได้แก่
  1. ปัญหาที่เกิดจากขาดการวางแผน ว่าจะทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ให้ชัดเจน การใช้เวลาอันยาวนานในการทำงานหรือ แก้ปัญหาใดๆ เป็นเหตุให้ผลตอบแทนของความขยันได้กลับมาลดน้อยลง แม้ว่าขยันแต่งานที่ได้ขาดประสิทธิภาพ
  2. ปัญหาที่เกิดจากการผลัดวันประกันพรุ่ง เช่นนอนตื่นสาย ขาดการเตรียมงานวันรุ่งขึ้น อ่านหนังสือพิมพ์ หรือคุยกับเพื่อน หรือดื่มน้ำชากาแฟก่อนทำงาน
  3. ปัญหาที่เกิดจากความวุ่นวาย ทำงานโดยไม่ได้จัดลำดับความสำคัญของปัญหา ไม่ไว้วางใจผู้อื่นจึงขาดการมอบหมายงาน ทำงานหลายอย่างที่ไม่เหมือนกัน หรือการสื่อความหมายที่ไม่ถูกต้อง ไม่ชัดเจน ความชักช้า ความไม่คงที่ ยุ่งเหยิง ระบบเอกสารที่ไม่ดี
  4. ปัญหาที่เกิดจากการเล่นมากเกินไป ได้แก่ การใช้เวลามากเกินไปแก่ผู้มาเยือน โทรศัพท์นานหรือบ่อยครั้งเกินไป หรือหลบไปซื้อสิ่งของ ดื่มน้ำชากาแฟ หรือทำอะไรที่ไร้สาระ
  5. ปัญหาซึ่งเกิดจากการมีส่วนเข้าร่วมมากเกินไป ได้แก่การเข้าร่วมในการตรวจสอบ ติดตามข้อปลีกย่อยมากเกินไป หรือใช้เวลายาวนานในการแก้ไขปัญหาแต่ละอย่างมากเกินไป
  6. ปัญหาซึ่งเกิดจากการทำงานบนกระดาษ เช่น ใช้เวลาในการอ่านหนังสือนานแต่จับประเด็นไม่ได้ บันทึกสิ่งต่างๆ ที่ไร้ประโยชน์

การบริหารเวลา เป็นการจัดการสิ่งต่างๆ ในเวลาที่มีอยู่ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี แต่ใช้เวลาน้อยที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
(จุฬาภรณ์ โสตะ และอมรรัตน์ ภูกาบขาว ,2543.)
ความสำคัญของการบริหารเวลา
  • มี เวลาเหลือมากขึ้น สำหรับทำกิจกรรมที่น่าพอใจหรือเพื่อหย่อนใจ
  • ทำ ให้พบความสำเร็จที่ต้องการได้มากขึ้นในทุกๆ ด้าน
  • ลด ความเครียดและวิตกกังวล
  • รู้สึกผิดน้อยลง
หัวใจสำคัญของการบริหารเวลา
  • เรียนรู้ที่จะจัดลำดับความสำคัญ โดยการเอางานทั้งหลาย มาจัดลำดับความสำคัญแล้วลงมือทำงานที่สำคัญที่สุด
  • เรียนรู้ที่จะมอบหมายงาน โดยพิจารณาบุคคลที่เหมาะสมทำงานแทนในกิจกรรมต่างๆ และให้ความไว้วางใจกับงานที่เขาทำได้

หลักการเบื้องต้นในการบริหารเวลา
(บุญ ชัย ปัญจรัตนากร ,2540)

การบริหารเวลาที่ดี นอกจากสามารถทำงานของตนเองให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีแล้ว ยังสามารถทำงานเพื่อผู้อื่นได้ด้วยและยังได้รับความสุขจากการมีเวลาว่างของ ตน
  1. การเริ่มต้นที่ดีมีความสำเร็จเกินกว่าครึ่ง ถ้าการเริ่มต้นของวันใหม่มีความสดชื่นแจ่มใสจึงควรค้นหาสิ่งที่ตนเองชื่นชอบ สักอย่าง
  2. พิจารณาให้แน่นอน ว่าอะไรสำคัญที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้คนอื่นปล้นเวลา หรือปล้นสิ่งสำคัญๆในชีวิตไป และจงกล้าที่จะตอบปฏิเสธ เพียงกล่าวว่า “ไม่” สั้นๆ และง่ายๆ
  3. ตั้งเป้าหมาย การมีเป้าหมายอาจมีได้หลายเป้าหมาย ทั้งเรื่องส่วนตัวและเรื่องงาน การเขียนเป้าหมายเหล่านั้นออกมาจะช่วยให้จุดประสงค์ของมันชัดเจนขึ้น และช่วยกำหนดทิศทางการใช้เวลาในแต่ละสัปดาห์ เดือน ปี ทศวรรษ และชั่วชีวิตได้
  4. กำหนดเกณฑ์ ในการใช้เวลาในการทำกิจกรรมแต่ละอย่าง เช่น การโทรศัพท์ การคุยกับแขก การรับประทานอาหาร ตลอดจนเรื่องใช้จ่ายต่างๆ ควรกำหนดไว้ล่วงหน้าว่าจะใช้เวลาเท่าไร
  5. วางแผนประจำวัน ควรเขียนกิจกรรมต่างๆออกมาอย่างชัดเจน แล้ววางแผนการจัดทำเพื่อให้บรรลุผล โดยจัดลำดับความสำคัญ
  6. ใช้ชีวิตอย่างสมดุล ทั้งในการพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ มีเวลาหย่อนใจพอควร เวลาให้กับตนเอง และ การพัฒนาจิตวิญญาณ ตลอดจนเรื่องที่สนใจ
  7. จัดลำดับความสำคัญของงานให้ชัดเจน โดยพิจารณาว่างานใดเร่งด่วน ที่ต้องดำเนินการโดยด่วน งานใดที่สามารถทำภายหลังได้ ไม่ต้องใช้สมองและเวลามากนัก ก็ทำภายหลังได้
  8. ลงมือทำงานที่ยากที่สุด เมื่อทำงานที่ยากสำเร็จจะช่วยให้เกิดความโล่งใจ และช่วยให้เกิดความสำเร็จในการทำงาน
  9. มอบหมายงาน โดยพิจารณาว่าใครที่พอจะช่วยได้ เพื่อช่วยให้มีเวลาเพิ่มขึ้น
  10. ทำงานให้สำเร็จเป็นชิ้นเป็นอัน อย่าทำงานด้วยความยืดยาด
  11. ออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายกระฉับกระเฉง กระปรี้กระเปร่า การเดินเป็นการออกกำลังกายที่ประหยัดที่สุดและง่ายที่สุด
  12. ตรวจสอบสิ่งที่ทำ ว่ามีความสำคัญหรือจำเป็นเพียงใดหรือเป็นเพียงความเคยชิน สำรวจดูว่าถ้าตัดออกจะช่วยให้มีเวลามากยิ่งขึ้นหรือไม่
  13. วางแผนฉลองความสำเร็จ เช่น ถ้างานชิ้นนี้เสร็จแล้วควรจะให้อะไรเป็นรางวัลให้สำหรับตัวเอง ซึ่งอาจเป็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ก็ได้เพื่อให้เป็นขวัญและกำลังใจตัวเอง
  14. ใช้ความจำช่วยประหยัดเวลาในการทำงานสูง จงควรฝึกการจดจำสิ่งต่างๆ

เทคนิคการบริหารเวลา

โดย (บุญชัย ปัญจรัตนากร ,2540 และ ม.อึ้งอรุณ, 2537)
  • ไปถึงที่ทำงานแต่เช้า การไปถึงที่ทำงานก่อนเวลาทำงานปกติ จะได้เวลาซึ่งปราศจากการขัดจังหวะ จากสิ่งใดๆ สามารถใช้เวลานั้น เพื่อใช้เวลาคิดในการวางแผน หรือทำงานที่ต้องใช้สมาธิได้
  • จัดชั่วโมงศักดิ์สิทธิ์ หาชั่วโมงศักดิ์สิทธิ์ที่ปราศจากการบกวน โดยงดรับโทรศัพท์ ปิดห้องทำงาน เพื่อได้ทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
  • เขียนสิ่งที่ต้องทำในบันทึก พร้อมจัดสรรเวลาและจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมไปได้ด้วย พร้อมกับระบุวันเวลา ในลงบันทึก เพื่อจัดการงานแต่ละชิ้นออกไป
  • จัดโต๊ะทำงานให้เป็นระเบียบ จัดโต๊ะให้เป็นระเบียบทุกเย็น ถ้าโต๊ะสะอาดจะช่วยให้การทำงานในตอนเช้าง่ายขึ้น
  • ลดจำนวนครั้งและเวลาในการประชุม ต้องคำนึงถึงเสมอถึงผลที่ได้จากการประชุมอย่างถี่ถ้วน คุ้มค่ากับเวลา โดยมีการกำหนดวาระประชุม รักษาเวลาการประชุม และวาระการประชุมอย่างเคร่งครัด
  • แบ่งงานออกเป็นส่วนๆ โดยแปรรูปงานหรือโครงการที่สำคัญให้เป็นกิจกรรมย่อยๆ ที่สามารถจัดการได้สะดวก และใช้เวลาไม่นานนัก ในแต่ละกิจกรรม จะทำงานให้สำเร็จไปได้ในแต่ละช่วง เพราะเป็นการยากมากที่จะหาเวลาติดต่อกันในช่วงยาวๆ
  • เริ่มลงมือทำทันที อย่ามัวรีรอในการทำกิจกรรมต่างๆ อย่างงว่าจะเริ่มต้นตรงไหนก่อนการรีบตัดสินใจทำทันที แล้วค่อยเพิ่มเติมทีหลัง จะให้งานเสร็จเร็วขึ้น
  • พิจารณาใช้เทคโนโลยีช่วย การเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมทำให้งานเสร็จเร็วขึ้นเป็นหลายเท่า เช่นโทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ บัตรเครดิต
  • เตรียมอุปกรณ์ จำเป็นใกล้มือ เช่นโทรศัพท์ คลิบหนีบกระดาษ สมุดโน้ต กรรไกร ปากกา ยางลบ เทปใส ตะกร้าขยะ ซองจดหมาย ฯลฯ
  • ใช้หูแทนตาเพื่อประหยัดเวลา เช่นฟังวิทยุแทนดูโทรทัศน์
  • ใช้เวลารอคอยให้เกิดประโยชน์ ถ้าต้องรอคอยอะไรซักอย่างหนึ่ง ต้องหากิจกรรมสำรองที่ง่ายๆ ไปด้วย จะได้ไม่มีความกระวนกระวายใจ ในการรอคอย และยังได้งานเพิ่มขึ้นอีก
  • ประหยัดเวลาในการจับจ่าย โดยการซื้อของเป็นจำนวนมาก ไม่ตองไปซื้อบ่อย ซื้อของเวลาที่คนไม่มาก วานคนอื่นให้คนทำงานแทน ตัดสินใจโดยไม่ลังเลและผนวกการจ่ายตลาดกับธุระประจำเข้าด้วยกันเพื่อประหยัดเวลา
  • การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ช่วยให้ประหยัดเวลาได้ ทั้งในด้านการช่วยเหลือเกื้อกูล และ การสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาด้วยมิตรภาพที่ดี การสื่อสารที่ชัดเจน นุ่มนวล และช่วยให้ได้รับความร่วมมือช่วยเหลือด้วยดี และประหยัดเวลาทำงาน
  • ใช้เวลาปลีกย่อยให้เป็นประโยชน์ ใช้เวลา 10 นาที หรือ 15 นาที ให้เกิดประโยชน์ โดยเฉพาะเวลาที่ต้องคอยอะไรสักอย่างใช้ให้คุ้มค่า อย่างทิ้งไป
  • ใช้เวลาของแต่ละวันให้เต็มที่ สมเหตุสมผล มีประโยชน์ เช่น ฟังข่าววิทยุ หรือฝึกฟังภาษาอังกฤษขณะขับรถไปทำงาน
  • วางแผนการใช้เวลาแต่ละช่วงให้เหมาะสม หรือทำงานเพิ่มนอกเหนือจากที่จัดระเบียบไว้ในแต่ละวันแล้วจะได้งานอื่นๆเพิ่มอีกด้วย
  • ทำงานด้วยความสบายใจ ความสุขและความสนุกสนานเป็นการเสริมสร้างพลังจิตใจให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ จิตใจที่สบายเป็นทุนของประสิทธิภาพการทำงาน ควรเพาะเลี้ยงให้มีความสนุกสนานกับการทำงานและเอาใจใส่
  • ในการทำงาน ควรกำหนดเวลาในการพักผ่อนไปด้วย หรือเปลี่ยนงานซึ่งมีลักษณะไม่เหมือนกัน จะช่วยให้ทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ทำงานสองสิ่งในเวลาเดียวกัน ถึงแม้โบราณจะสอนว่า ทำงานสิ่งใด ก็ให้ตั้งใจทำงานในสิ่งนั้น มิเช่นนั้นจะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพต่ำลง แต่การตั้งใจทำงานนับเป็นสิ่งที่ดี แต่เราสามารถตั้งใจทำงานควบคู่กันได้
  • การเพิ่มพูนความรู้และข้อมูลข่าวสารต่างๆอ่านหนังสือให้ได้ผลโดยเพิ่มเวลาอ่านหนังสือให้มากขึ้น อ่านทุกวันและสม่ำเสมอ เลือกหนังสือที่จะอ่านด้วยความระมัดระวัง มีประโยชน์ และมีคุณค่า ตลอดจน เพิ่มความเร็วของการอ่าน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น